จากกรณีที่ประเทศญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะปล่อยน้ำกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเลในเดือน ส.ค. นี้ โดยได้รับการอนุมัติจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดเสียงคัดค้านจากนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นอย่างจีนและเกาหลีใต้ โดยจีนได้สั่งควบคุมอาหารนำเข้าจากจีน ส่วนเกาหลีใต้นั้นแม้รัฐบาลจะหนุนการตัดสินใจของญี่ปุ่น แต่ก็มีการต่อต้านโดยประชาชนในประเทศ
ล่าสุด แม้แต่เพื่อนบ้านที่ไม่ค่อยสุงสิงกับใครอย่าง “เกาหลีเหนือ” เอง ก็ออกมาเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศ หยุดไม่ให้ญี่ปุ่นปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล
กรมคุ้มครองที่ดินและสิ่งแวดล้อมระบุว่า “ชุมชนระหว่างประเทศที่ยุติธรรมต้องไม่นั่งดูการกระทำที่ชั่วร้าย ผิดมนุษยธรรม และการก่อสงครามโดยกองกำลังทุจริตที่พยายามทำลายล้างบ้านเกิดของมนุษยชาติบนดาวเคราะห์สีน้ำเงิน และต้องร่วมมือกันเพื่อหยุดยั้งและทำลายล้างพวกมันอย่างเต็มที่”
ถ้อยแถลงที่รายงานโดยสื่อของรัฐ KCNA เมื่อวันอาทิตย์ มีขึ้นหลังจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (IAEA) กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า แผนของโตเกียวมีความปลอดภัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม
จีนคุมเข้มอาหารนำเข้า หลังญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะลงทะเล
ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงทะเล ส.ค.นี้
ญี่ปุ่นอนุมัติแผนปล่อยน้ำ 1.3 ล้านตันจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงทะเล
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการรับรองของหน่วยงานสหประชาชาติ แต่นั่นก็แทบไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับชาวประมงและผู้อยู่อาศัยในญี่ปุ่นและในประเทศข้างเคียงได้เลย
ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ของ IAEA ให้สัมภาษณ์ว่า เขาได้พบกับกลุ่มประมงญี่ปุ่นและนายกเทศมนตรีท้องถิ่นแล้ว และเข้าใจในความหวาดกลัวของพวกเขา
“นิสัยของผม … คือการฟังและอธิบายในลักษณะที่จัดการกับข้อกังวลทั้งหมดที่พวกเขามี ..คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เมื่อมีใครไปฟุกุชิมะ มองดูแท็งก์น้ำเสียเหล่านี้ ซึ่งมีน้ำมากกว่าหนึ่งล้านตันที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี และจินตนาการว่าสิ่งนี้กำลังจะถูกปล่อยลงสู่ทะเล ดังนั้นความกลัวทุกประเภทจึงเกิดขึ้น และเราต้องจริงจังกับมัน เพื่อแก้ไขและอธิบาย” กรอสซีกล่าว
IAEA ระบุว่า ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าในการจัดการกับน้ำเสียจำนวนมหาศาลที่สะสมมานับตั้งแต่เกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิปี 2011 ที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ
“เราพิจารณานโยบายพื้นฐานนี้มากว่าสองปีแล้ว เราได้ทำการประเมินมาตรฐานที่เข้มงวดที่สุดที่มีอยู่ และเราค่อนข้างแน่ใจในสิ่งที่เราพูดและแผนการที่เราเสนอ” ผู้อำนวยการ IAEA กล่าว
ภัยพิบัติในปี 2011 ทำให้แกนเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะร้อนเกินไป และทำให้น้ำภายในโรงงานปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตภาพรังสี
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา น้ำใหม่ได้ถูกสูบเข้าไปเพื่อทำให้เครื่องปฏิกรณ์เย็นลง ดินและน้ำฝนยังรั่วไหลเข้ามาในโรงไฟฟ้า ทำให้เกิดน้ำเสียที่มีกัมมันตภาพรังสีมากขึ้น ซึ่งขณะนี้วัดได้ 1.32 ล้านเมตริกตัน ซึ่งเพียงพอที่จะเติมสระว่ายน้ำขนาดสำหรับการแข่งขันโอลิมปิก ได้มากกว่า 500 สระ
ทางการญี่ปุ่นยืนยันว่า การปล่อยน้ำเสียเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากพื้นที่ว่างในการบรรจุสารปนเปื้อนหมดลงแล้ว และการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะทำให้สามารถรื้อถอนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะทั้งหมดได้
นักวิทยาศาสตร์นานาชาติแสดงความกังวล โดยกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในระยะยาว และโต้แย้งว่าการปล่อยของเสียดังกล่าวอาจทำให้ไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีของไฮโดรเจน ซึ่งไม่สามารถกำจัดออกจากน้ำเสียได้ จะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นในระบบนิเวศทางทะเลและห่วงโซ่อาหาร เป็นผลเสียต่อทุกชีวิต
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก AFP